ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก กับการเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี (EV) รุ่นแรก ปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) เมื่อปี 2562 หลังจากใช้เวลาซุ่มพัฒนา 5 ปี และต้องทนกับคำกระแนะกระแหนของ อีวี ไฟแรงในช่วงเวลานั้นอย่าง เทสล่า
โดยล่าสุด ปอร์เช่ มียอดผลิตสะสมเกือบ 150,000 คัน โดยมีตลาดที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี และจีน
ถึงวันนี้ ปอร์เช่ เปิดตัวอีวีรุ่นที่ 2 ไปแล้ว คือ มาคันน์ อีวี (Macan EV) ซึ่งก็กำลังได้รับความสนใจจากหลายตลาด
ในขณะเดียวกัน อีวี รุ่นแรก อย่างไทคานน์ ก็ถึงเวลาปรับโฉม และเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยปอร์เช่ เอจี สตุทการ์ท ระบุว่า พร้อมที่จะเข้าสู่โชว์รูมช่วงกลางปี 2567 นี้
โดยไทคานน์ จะปรับดีไซน์โครงสร้างตัวถังภายนอกทุกรุ่นย่อยไม่ว่าจะเป็น ไทคานน์ สปอร์ต ซีดาน และ ไทคานน์ ครอส ทัวริสโม (Taycan Cross Turismo) เพื่อเพิ่มความเอนกประสงค์ มาพร้อมแพ็คเกจออฟโรดในแต่ละรุ่น โดยจะมีให้เลือกทั้งระบบขับเคลื่อนล้อหลัง และขับเคลื่อนสี่ล้อ
เควิน กี๊ก (Kevin Giek) ผู้บริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ กล่าวว่า ปอร์เช่น เปิดศักราชใหม่ของการขับเคลื่อนด้วยรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากับ ไทคานน์ ตั้งแต่ปลายปี 2562
และขณะนี้ปอร์เช่กำลังสานต่อความสำเร็จนี้ด้วย ไทคานน์ (Taycan) เวอร์ชั่นใหม่ ที่ได้รับการปรับปรุงแทบทุกด้าน ทั้งประสิทธิภาพ การขับขี่ที่ ความสนุกสนาน ระยะทางวิ่ง ความสะดวกในการใช้งาน และความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน
โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพจะเกิดขั้นกับทุกรุ่นย่อย โดยเฉพาะอัตราเร่งที่ร้อนแรงกว่าเดิมมาก เช่น
- ไทคานน์ มีอัตราเร่ง 0- 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเวลา 4.8 วินาที เร็วขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า 0.6 วินาที
- ไทคานน์ เทอร์โบ เอส (Taycan Turbo S) อัตราเร่ง 0- 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง 2.4 วินาที เร็วกว่ารุ่นก่อนหน้า 0.4 วินาที
อัตราการเร่งที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากระบบที่มีกำลังขับสูงขึ้น เช่น ไทคานน์ (Taycan) รุ่นเริ่มต้น จะให้กำลังมากกว่าเดิม 60 กิโลวัตต์ หรือประมาณ 80 แรงม้า
ส่วนใน ไทคานน์ เทอร์โบ เอส จะมีกำลังเพิ่มอีก 140 กิโลวัตต์ หรือ 187 แรงม้า เป็น 952 แรงม้า รวมถึงระบบ Launch Control ที่ช่วยในการออกตัว
โดยมอเตอร์ไฟฟ้าที่เพลาหลังรุ่นใหม่ปรับให้มีกำลังมากกว่ารุ่นก่อน สูงสุด 80 กิโลวัตต์ หรือ 107 แรงม้า ขณะที่อินเวอร์เตอร์ แบบปรับคลื่นความถี่ที่ปรับปรุงใหม่ด้วยซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
การเพิ่มประสิทธิภาพยังมาจากแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น การจัดการระบบระบายความร้อนที่ปรับปรุงใหม่ และฮีทปั๊ม (Heat Pump) รวมถึงการปรับปรุง recuperation (ระบบการเรียกพลังงานกลับคืน)
นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชัน push-to-pass ใหม่ มาพร้อมกับแพ็คเกจ Sport Chrono สามารถเพิ่มกำลังได้สูงสุด 70 กิโลวัตต์ หรือประมาณ 93 แรงม้า ภายในเวลา 10 วินาที ด้วยการกดปุ่ม
ด้านระยะทางการใช้งาน จะเพิ่มจากรุ่นเดิมมากกว่า 35% ตามมาตรฐาน WLTP ซึ่งทำให้ไทคานน์ขับขี่ได้ระยะทางสูงสุ 678 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้น 175 กิโลเมตร
นั่นทำให้การพึ่งพาจุดชาร์จน้อยลง และไม่เท่านั้น แต่ปอร์เช่ ระบุว่าระยะเวลาในการชาร์จก็ลดลงด้วย เช่น
สถานีชาร์จ DC แบบ 800 โวลต์ จะสามารถชาร์จได้สูงสุดถึง 320 กิโลวัตต์ ซึ่งมากกว่าเดิม 50 กิโลวัตต์
ทั้งนี้ไทคานน์ (Taycan) สามารถลดระยะเวลาการชาร์จ 10 – 80% เมื่อเทียบกับรถรุ่นก่อนลงได้ครึ่งหนึ่ง
โดยไทคานน์ (Taycan) รุ่นแรก ใช้เวลาการชาร์จจาก 10 – 80% ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ที่ 37 นาที แต่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ไทคานน์ ใหม่นี้ ใช้เวลา 18 นาที แม้จะมีความจุแบตเตอรี่ที่เพิ่มขึ้น
ในส่วนของช่วงล่าง เป็นแบบถุงลม ปรับได้ (adaptive air suspension) เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ส่วนระบบกันสะเทือนแบบ Porsche Active Ride ใหม่ เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อที่ สามารถสั่งซื้อเพิ่มเติมได้
ระบบกันสะเทือน จะช่วยให้ตัวถังของไทคานน์ อยู่ในระดับเดียวกันตลอดเวลา แม้ในระหว่างการเบรกแบบไดนามิก การบังคับเลี้ยว และการเร่งความเร็ว
สำหรับการเรียกพลังงานกลับคืนที่ดีขึ้นนั้น ปอร์เช่ระบุว่า เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% เปอร์จาก 290 เป็น 400 กิโลวัตต์ ซึ่งทำให้ระยะทางการใช้งานเพิ่มขึ้น
รวมถึงการปรับลดน้ำหนักโดยรวมของรถลงประมาณ 15 กิโลกรัม
ส่วนอุปกรณ์มาตรฐานที่มีมาในไทคานน์ เช่น ไฟส่องสว่างโดยรอบ ระบบช่วยจอดพร้อมกล้องมองหลัง กระจกมองข้างพับไฟฟ้า พร้อมไฟรอบกระจก
เบาะนั่งด้านหน้าแบบอุ่นไฟฟ้า Porsche Intelligent Range Manager (PIRM) ฮีทปั๊ม (Heat Pump) พร้อมระบบระบายความร้อนแบบใหม่ ที่ชาร์จโทรศัพท์ไร้สาย
สวิตช์โหมดการขับขี่ และ Power Steering Plus
ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบด้านหน้าและด้านหลังใหม่ ไฟหน้าใหม่แบบแบนราบทำให้รถดูกว้างขึ้น ไฟท้ายแบบใหม่ ปีกหน้าใหม่
โดยไฟหน้าใหม่มาพร้อมกับเทคโนโลยี HD matrix ความละเอียดสูง พร้อมเลนส์แบบละเอียด และมีการแสดงกราฟิก 4 จุดอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ในเวลากลางคืน
โลโก้ปอร์เช่ที่แถบไฟท้าย ออกแบบเป็นรูปลักษณ์กระจก 3 มิติ และสำหรับเวอร์ชันกราฟฟิกเรืองแสงนี้ พร้อมให้ใช้งานเป็นครั้งแรก โดยจะเป็นแอนิเมชั่นต้อนรับทั้งตอนเข้ารถ/ ออกจากรถ
ไทคานนต์ยังมีสีสันพิเศษ Turbonite มาให้เลือกอีกด้วย
แผงหน้าปัดจอแสดงผลกลาง และหน้าจอแสดงผลสำหรับผู้โดยสารด้านหน้าปรับแต่งและเพิ่มเติมฟังก์ชันการใช้งาน
สวิตช์โหมดบนพวงมาลัยกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ในส่วนของไทคานน์ (Taycan) รุ่นที่ติดตั้งแพ็คเกจ Sport Chrono และ Performance Battery Plus จะมีปุ่มกด push-to-pass พิเศษบนสวิตช์โหมดด้วย
พวงมาลัยยังเพิ่มความสะดวกให้ผู้ขับขี่ ด้วยระบบควบคุมแบบใหม่ด้านซ้ายหลังพวงมาลัย
มาพร้อม Apple CarPlay ฟังก์ชันวิดีโอในรถยนต์ สามารถสตรีมวิดีโอบนหน้าจอแสดงผลกลางและหน้าจอแสดงผลสำหรับผู้โดยสารได้อีกด้วย
https://ift.tt/h7FSnR3
รถยนต์
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ปอร์เช่ ไทคานน์ ปรับโฉม เพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมลงโชว์รูมกลางปี - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment