การจดทะเบียน รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ในบ้านเรามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สถิติยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าสะสม ในกลุ่มรถยนต์นั่งเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมามากถึง 317,502 คัน เพิ่มจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ถึง 39.47% เดือน ก.พ. ต่อมาแค่เดือนเดียว ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 331,885 คัน ถือเป็นการพัฒนาการที่สำคัญของประเทศไทยในการเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ
รถยนต์ไฟฟ้า ไฮบริด HEV มียอดการจดทะเบียนมากที่สุดถึง 265,475 คันเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา รถยนต์ไฟฟ้า ไฮบริดปลั๊กอิน PHEV มียอดจดทะเบียนสะสมที่ 44,535 คัน และ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ มียอดจดทะเบียนสะสม ที่ 21,875 คัน ซึ่งแต่ละรุ่นมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้าผสมน้ำมันและการใช้ไฟฟ้าล้วน
ปัญหาใหญ่ของการใช้รถไฟฟ้าคือ สถานีชาร์จไฟ ในกรณีการติดตั้งที่ชาร์จไฟฟ้าที่บ้านที่อยู่อาศัยจะมีปัญหามาก โดยเฉพาะการติดตั้ง ที่จะต้องแจ้งไปยังการไฟฟ้าให้มาเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าและต้องแจ้งให้การไฟฟ้าทราบก่อน ในขณะที่สถานีชาร์จ ทั่วไป มีปริมาณจำกัด และไม่สะดวกสำหรับการใช้งานที่ต้องรีบเร่ง นอกจากนี้ ปัจจุบันคนในเมือง มักจะอาศัยอยู่ในคอนโด อพาร์ตเมนต์ มากกว่าทำให้ไม่สะดวกในการติดตั้งที่ชาร์จไฟฟ้าส่วนตัว
หน่วยงานทั้งรัฐวิสาหกิจและเอกชนที่ดำเนินการติดตั้ง สถานีชาร์จไฟฟ้า ยังไม่พอกับความต้องการของจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ปตท. ซึ่งอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและการเข้าสู่ นโยบายคาร์บอนเป็นศูนย์ ที่ตั้งเป้ากรอบระยะเวลาเอาไว้ชัดเจน ได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยเป็นไปตามเป้าหมาย
บริษัท อีวี มี พลัส EVme Plus ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการเช่ารถยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รายแรกของประเทศไทย พร้อมด้วย ออน–ไอออน on-ion ภายใต้การบริหารของบริษัท อรุณ พลัสจำกัด พยายามที่จะขยายเครือข่ายสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า บนทำเลศักยภาพ เช่น ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อเป็นการรองรับการเติบโตของตลาด EV และสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีความมั่นใจในการเดินทางได้อย่างไร้ความกังวล
ทั้งนี้ สุวิชชา สุดใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ อีวี มี พลัส ย้ำว่า การดำเนินธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร นอกเหนือจากการให้เช่ารถยนต์ ยังเพิ่มการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า รองรับการขยายตัวของรถยนต์ EV สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ที่จะหันมาใช้บริการรถ EV อย่างเต็มรูปแบบ
ต้องเข้าใจก่อนว่า ออน-ไอออน เป็นสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่ได้รับพลังงานไฟฟ้าที่เป็นพลังงานสะอาด จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน 100% และเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตในประเทศไทยทั้งหมด พร้อมขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ และคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทจะมีหัวชาร์จที่แตกต่างกัน โดยจะติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ทั้งชนิดกระแสสลับ AC Charger หัวชาร์จ Type 2 และควบคุมการใช้งานทั้ง Android และ ios สอดรับกับอนาคตที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ขยายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ.
https://ift.tt/g0JeLID
รถยนต์
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ปญหาของรถยนตไฟฟา - ไทยรฐ"
Post a Comment