Search

โอนลอย สะดวก แต่เสี่ยง? - MCOT Plc

26 ..65 – อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของ ..อาจเป็นตัวอย่างให้ผู้ที่กำลังซื้อขายแลกเปลี่ยนรถ ชั่งใจว่า ควรเลือกใช้วิธีการโอนกรรมสิทธิแบบใด และควรเลือกวิธีการโอนลอยหรือไม่

กรมการขนส่งทางบก ให้นิยาม การโอนลอย คือ การที่เจ้าของรถได้ขายรถของตนไปแล้ว และทำการลงนามในเอกสารการโอนรถ และใบมอบอำนาจให้แก่ผู้ซื้อ โดยมิได้มีการดำเนินการทางทะเบียนที่กรมการขนส่ง"


ทั้งนี้การโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายจะสมบูรณ์ได้ เมื่อผู้ซื้อหรือผู้ขายไปจดทะเบียนผู้ครอบครองใหม่ยังสำนักงานขนส่งเท่านั้น!ดังนั้นการโอนลอย จึงเป็นการเซ็นสัญญาการโอนของผู้ขาย แต่ยังไม่มีการกรอกชื่อผู้รับโอน หรือหากกรอกชื่อผู้รับโอนแล้ว แต่ยังไม่ได้ไปทำการโอนให้เรียบร้อยที่กรมขนส่งทางบก นั่นเอง

การโอนลอย มีข้อดีอย่างไร?

เมื่อทำเอกสารการโอนลอยแล้ว “ผู้ขายสามารถรับเงินจากขายรถได้ทันที ช่วยให้สะดวกทั้งผู้ขายและผู้ดำเนินการต่อ” 

นั่นทำให้การซื้อขายรถได้เร็วขึ้น สำหรับคนที่ต้องการขายรถต่อไปยังเต็นท์รถมือสองหรือฝากขาย คนที่รับไปขายต่อไม่จำเป็นต้องเซ็นรับโอนหลายครั้ง หากมีการนำไปขายให้กับเจ้าของใหม่ 


เมื่อทำการขายได้แล้วจึงนำใบโอนลอยไปให้คนซื้อใหม่เซ็นในส่วนผู้รับโอน จึงไม่ต้องเสียเวลาไปทำการโอนที่กรมขนส่งหลายรอบที่อาจเป็นการเสียค่าใช้จ่ายหลายต่อนั่นเอง ขณะที่ในส่วนของเจ้าของรถก็ไม่ต้องเสียเวลาเดินเรื่องเองอีกด้วย

การโอนลอยรถต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

1.หนังสือสัญญาซื้อขาย

2.เล่มทะเบียนรถตัวจริง

3.สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด

4.สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ซื้อ (ในกรณีที่เจ้าของรถขายต่อกับผู้ซื้อโดยตรง)

5.สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด

6.แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด

7.หนังสือมอบอำนาจจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด

แต่ในข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเช่นกัน 

การโอนลอยนั้นก็เสี่ยงเกิดปัญหา หากเจอกรณีเหล่านี้เช่น ถูกใบสั่งจราจร ,มีคดีเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุบนท้องถนน,นำไปก่อเหตุอาชญากรรม ,นำไปขายต่อแบบผิดกฎหมาย 

จะทำให้เจ้าของรถเดิมตามเล่มทะเบียนรถอาจเสี่ยงต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากยังถือว่าเป็นเจ้าของรถคันดังกล่าวอยู่ 


ดังนั้น เอกสารการซื้อขายควรมี 2 ฉบับ ที่เก็บไว้ทั้งทางผู้ซื้อและผู้ขาย และต้องสำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อเอาไว้ด้วย เพราะเมื่อเกิดคดีความก่อนที่จะมีการโอนอย่างถูกต้อง เจ้าของรถคนเดิมสามารถนำเอกสารเหล่านี้มายืนยันได้ว่ามีการขายไปแล้ว

คำแนะนำ สำหรับป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจากการโอนลอย คือเมื่อซื้อขายรถยนต์ ผู้ซื้อควรดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองรถในทางทะเบียนให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะขายรถให้กับผู้ประกอบการเต้นท์รถ หรือใครก็ตาม แม้ว่าวิธีนี้อาจจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการโอน แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ที่ไม่ต้องมาเจอกับปัญหาคดีอาญาแบบไม่รู้ตัว

เคล็ดลับ จะโอนลอยอย่างไรให้ปลอดภัย?

1.เอกสารการซื้อขายสำหรับผู้ซื้อ และผู้ขาย 

2.กรอกวันที่และสัญญาทั้งหมดให้ครบถ้วน

3.สำเนาบัตรประชาชน เซ็นสำเนาถูกต้อง กำกับชื่อ ขีดคร่อม “ใช้เพื่อดำเนินการเกี่ยวข้องกับรถยนต์หมายเลขทะเบียน xxxx เท่านั้น

4.ในสัญญาซื้อขายให้ระบุว่า ยังไม่ได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง

5.มีพยานเซ็นในสัญญาซื้อขาย

ที่มา : สำนักงานกิจการยุติธรรม กรมการขนส่งทางบก

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( โอนลอย สะดวก แต่เสี่ยง? - MCOT Plc )
https://ift.tt/3KLebEB
ขายรถ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "โอนลอย สะดวก แต่เสี่ยง? - MCOT Plc"

Post a Comment

Powered by Blogger.