แต่ในมุม “กฎหมายแล้วการทุจริต หรือฉ้อฉลประกันภัย” นอกจากจะไม่ได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้วยังต้องมีโทษจำคุกอีกด้วย “คมเพชญ จันปุ่ม” หรือ “ทนายอ๊อด” ประธานเครือข่ายทนายชาวบ้าน บอกว่า หลักการทำประกันมักมีประโยชน์คุ้มครอง “ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม” ที่จะได้รับเงินชดเชย...

ตามระบุไว้สัญญาให้ “ผู้รับประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย” เพื่อให้ครอบครัวมีเงินเลี้ยงชีพไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ทั้งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในยามเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ในการเลี้ยงชีพสร้างความมั่นคงของรายได้ เปรียบเสมือนเตรียมเงินไว้ใช้ “ยามฉุกเฉิน” ช่วยกระจายความเสี่ยงให้ดำเนินชีวิตได้มั่นคงขึ้น ทั้งเมื่อกรมธรรม์ครบกำหนดหนึ่งยังเป็น “มูลค่าเงินสด” สามารถขอคืนเงินส่วนหนึ่งนำไปใช้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้
เหตุนี้จึงมักมี “การฉ้อฉลประกัน” ทั้งกรณีตัวแทนหลอกลวงเบี้ยประกันไม่นำส่งบริษัทประกัน ทำให้ชาวบ้านไม่ได้รับคุ้มครอง ปัญหากลโกงของตัวแทนบางคน

และ...บริษัทประกันบางแห่งใช้เล่ห์เหลี่ยมบิดพลิ้วปฏิเสธจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ทำประกัน แม้แต่ “ผู้เอาประกันภัย” ก็ยังสร้างหลักฐานเท็จเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
ด้วยการให้สินบนตัวแทนหรือตัวแทนเรียกรับสินบน สร้างหลักฐานเท็จขอรับเงินค่าสินไหมเหตุนี้ทำให้ต้องมี “กฎหมายประกันภัย” เข้ามาคุ้มครองดูแลผู้ทำประกัน ตัวแทน และบริษัทประกันภัยให้เสมอภาคกัน
ยิ่งกว่านั้นในช่วง “การระบาดโควิด–19” ตั้งแต่ปีที่แล้วมีผู้หันมาสนใจดูแลด้านสุขอนามัยด้วย “การซื้อทำประกันผ่านออนไลน์” มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันวางแผนลดความเสี่ยงค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายได้ ที่ต้องนอนรักษาตัวไม่ได้ทำงาน หรือเหตุเกิดการเสียชีวิตตามแต่กรณีไป
ทำให้มีกระแส “การโกงฉ้อฉลประกันภัยโควิด–19” ด้วยจงใจเจตนาให้ “ตัวเองเสี่ยงภัย” เข้าไปพื้นที่ที่มีการระบาดแล้ว “ติดเชื้อโควิด” เป็นข้ออ้างเอาเงินประกันภัย ในทางกฎหมายถือเป็นพฤติกรรมการเอาทรัพย์สินผู้อื่นโดยไม่สุจริต ย่อมเข้าข่าย “ความผิดฐานฉ้อโกงประกัน” ที่ไม่อาจยอมความได้

อันเป็นความผิด ป.อาญา ม.347 ผู้ใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันแกล้งทำให้เกิดเสียหายแก่ทรัพย์สินเอาประกันภัย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท
องค์ประกอบความผิดนี้ต้องมี “เจตนาเป็นสำคัญ” ที่เกิดจากประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผลการกระทำนั้น หมายความว่า “ผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความผิดยังทำลงไป” เช่น “ผู้ซื้อประกันไว้หลายบริษัท” แล้วเดินเข้าไปในสถานกักกันโรค “แบบไม่สนใจป้องกัน” ทั้งที่รับรู้ดีว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโรค...
สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงเจตนาเข้าไปให้ “ตัวเองติดโควิด” ตามความผิดมาตรานี้แล้ว เช่นนี้บริษัทรับทำประกันมักปฏิเสธจ่ายเงินไม่รับผิดชอบ ถ้าสืบทราบว่า “จงใจ” อาจถูกดำเนินคดีอาญาย้อนหลังอีกด้วย
“ปกติแล้ว “บริษัทประกันภัย” มีกระบวนการตรวจสอบกลั่นกรองก่อนจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยอยู่แล้วว่า “เป็นการฉ้อฉลหรือไม่” ถ้าพบการกระทำความผิดจริงๆ มักบังคับใช้กฎหมายเคร่งครัดมาก ดังนั้น “เรื่องเคลมประกันภัยโควิด–19” ที่จะได้รับเงินมานี้ไม่ใช่ได้มาโดยง่ายแน่นอน” ทนายอ๊อดว่า

แม้แต่ “การฆ่าตัวตายเอาประกัน” ที่มักเกิดขึ้นใน “ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ” จากคนไร้ทางออกในเรื่องนี้อยากให้ลืมความคิดนี้ได้เลยเพราะ “ไม่เกิดประโยชน์ที่จะได้รับเงินประกันชีวิต” จากลักษณะการกระทำเข้าข่ายความผิดตามหลัก ป.อาญา ม.347 อันเกิดจากการแกล้งทำให้เกิดเสียหายแก่ชีวิตเอาประกันภัยก็ได้
ทั้งยังมีระบุในกรมธรรม์ “ข้อยกเว้นในการจ่ายเงินเอาประกัน” จากผู้รับประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันตาย หรือผู้เอาประกันฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับจากวันทำสัญญา หรือวันต่ออายุสัญญาครั้งสุดท้าย ที่จะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันชีวิตให้แต่จะคืนเบี้ยประกันชีวิตที่ได้ชำระมาแล้วทั้งหมดเท่านั้น
อยากย้ำเตือนไว้ “การทำประกันโควิด” ในสถานการณ์ระบาดหนักหน่วงที่ยังคงประกาศใช้ “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯและ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558” ตั้งแต่การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ปิดพื้นที่เสี่ยง ลดเวลาร้านสะดวกซื้อห้างสรรพสินค้า งดเดินทางข้ามจังหวัด ห้ามรับประทานอาหารในร้าน ห้ามจำหน่ายสุราหลัง 20.00 น.

ห้ามรวมกลุ่มเกิน 5 คนขึ้นไป ห้ามจัดงานสังสรรค์งานเลี้ยงงานรื่นเริงตามประเพณีนิยม
ปัญหาว่า “ผู้ทำประกันโควิด” แม้ไม่มีเจตนาชัดเจนให้ “ตัวเองติดเชื้อ” แต่ใช้ชีวิตประมาทด้วย “การฝ่าฝืนคำสั่งมาตรการ” โดยเผอเรอเล็กๆน้อยๆ เช่น นัดเพื่อนกินข้าวเกินกว่า 5 คนในนี้มีผู้ป่วยโควิดร่วมอยู่ด้วยทำให้ “ตัวเองติดเชื้อ” ลักษณะนี้ก็เป็นความผิดตามข้อห้ามกฎหมายอยู่แล้วอาจไม่ได้รับเงินตามกรมธรรม์ก็ได้
เว้นแต่ใช้ชีวิตอย่างปกติแล้ว “ติดเชื้อ” ตัวอย่างเช่นในช่วงประกาศมาตรการป้องกันโรคระบาดนี้มีการชุมนุมทางการเมืองอันฝ่าฝืนห้ามรวมตัวกันเกิน 5 คน ในจำนวนนี้ “นักข่าว และตำรวจ ทำประกันโควิดไว้” เข้าไปทำหน้าที่ในวิชาชีพโดยสุจริตปกติแล้ว “ติดเชื้อ” เช่นนี้ย่อมได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยแน่นอน
ส่วน “ผู้ชุมนุมทำประกัน” เกิดติดเชื้อเช่นกันอาจเข้าข่ายใช้สิทธิ์ไม่สุจริต ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข “บริษัทประกันภัย” กำหนดในการรับสิทธิ์ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนำมาประกอบด้วย

ย้ำว่า “บริษัทประกัน” มีขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบนำสืบตามไทม์ไลน์ต้นเหตุการติดเชื้ออย่างละเอียดยิบก่อนจ่ายเงินให้ผู้เอาประกันเสมอ ดังนั้นผู้จงใจให้ “ตัวเองติดเชื้อ” ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้เงินที่อาจกลายเป็น “ภัยอันตรายต่อชีวิต” อีกทั้งถ้า “รอดเสียชีวิต” ก็ต้องถูกดำเนินคดีอีกตามมา
จริงๆแล้ว...“การฉ้อโกงเอาเงินประกันภัย” มักเจอใน “ประกันอุบัติเหตุ” กรณีกลุ่มรถยนต์ชั้น 2 บวกหรือชั้น 3 บวก บางคนเฉี่ยวชนไม่มีคู่กรณีมัก “จัดฉากอุบัติเหตุกับรถทำประกันชั้น 1” ในการเคลมประกันลดการจ่ายค่าซ่อมให้น้อยลง ทั้งยังมี “ประเภทจัดฉากบาดเจ็บนอนโรงพยาบาล” เรียกร้องค่าชดเชยรายวันอีกด้วย
ลักษณะนี้มี “ความผิดฉ้อโกง” ป.อาญา ม. 341 ผู้ใดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริง หลอกลวงเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือให้ทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิมีความผิดฉ้อโกงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท สามารถนำ ป.อาญา ม.347 มาประกอบความผิดได้ด้วย...ตอกย้ำว่าแม้ “บริษัทจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย” ไปแล้วสืบทราบกันภายหลังมีการฉ้อโกงเกิดขึ้นก็สามารถเรียกเงินคืนได้ใน “ฐานลาภมิควรได้” ตาม ป.พ.พ.ม.406 บุคคล ได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลจะอ้างกฎหมายได้ที่เป็นการเอาเปรียบอีกคน เมื่อบุคคลใดได้มาซึ่งลาภมิควรได้มีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา

ดังนั้น “บริษัทประกัน” มีสิทธิ์เรียกเงินจ่ายไปแล้วได้จาก “มูลเหตุฉ้อฉล” อันมีอายุความ 10 ปีจึงอยากเตือนพี่น้องประชาชน “อย่าเอาตัวเสี่ยงติดเชื้อโควิดหวังเงินประกัน” ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเด็ดขาด เพราะมักได้ไม่คุ้มเสียแถมยังเข้าข่าย “ทุจริตฉ้อโกง” อันมีความผิดต้องโทษทางอาญาติดคุกติดตะรางกันอยู่บ่อยอีกด้วย
อย่าลืมว่าทุกการกระทำผิดของ “มิจฉาชีพโจรผู้ร้าย” มักทิ้งร่องรอยไว้ไม่มากก็น้อยให้เป็นเบาะแสแกะรอยเจอ “คนทำผิด” มาลงโทษตามกฎหมายได้อยู่เสมอ.
https://ift.tt/3B7Zyqp
รถประกัน
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ติดโควิดหวังเงินประกัน โทษหนัก..อย่าหาทำ - ไทยรัฐ"
Post a Comment