
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 25 พ.ค.64 โดย ขบ. ยืนยันว่าร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและสังคมในภาพรวมเป็นสำคัญเป็นการเปิดทางเลือกในการใช้บริการรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านระบบแอพพลิเคชั่นที่มีความสอดคล้องตามวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล
อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยและความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งจากผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วไปและผู้ใช้บริการรถสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ของสวนดุสิตโพล พบว่า 97% เห็นด้วยกับการผลักดันให้การบริการแอพ เรียกรถเป็นบริการที่ถูกกฎหมาย นอกจากนี้ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีการออกกฎหมายรองรับให้การขนส่ง ผู้โดยสารผ่านระบบแอพ เป็นการขนส่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมนี และอิตาลี
นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เป็นการกำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคลที่ให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นรถยนต์รับจ้างประเภทหนึ่งเช่นเดียวกันกับรถแท็กซี่ เพื่อให้สามารถกำกับดูแลการให้บริการให้มีความปลอดภัย และเป็นธรรมต่อประชาชน ซึ่งรถยนต์ส่วนบุคคลดังกล่าวต้องขึ้นทะเบียน กับ ขบ. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งมีความเท่าเทียมกับการให้บริการรถแท็กซี่ในปัจจุบัน เช่น ต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 9 ปี ผู้ขับรถจะต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะและผ่านการตรวจสอบ ประวัติอาชญากรรม ต้องทำประกันภัยรถยนต์สาธารณะเพิ่มเติม
เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้โดยสารต้องติดเครื่องหมายแสดงการเป็นรถยนต์รับจ้างทางเลือกในตำแหน่งที่ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะการให้บริการที่แตกต่างจากรถแท็กซี่ โดยรถยนต์รับจ้างผ่านแอพฯ ต้องเรียกใช้บริการผ่านแอพ เท่านั้น ผู้โดยสารจะไม่สามารถโบกเรียกหรือจอดรับผู้โดยสารทั่วไปได้ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ให้บริการระบบแอพ ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยและขึ้นทะเบียนกับ ขบ. เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้โดยสารและผู้ให้บริการผ่านแอพ ด้วย
นายจิรุตม์ กล่าวอีกว่า สำหรับร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ถือเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับแท็กซี่โดยการรับผู้โดยสาร ผ่านแอพ เพิ่มเติมจากการรับผู้โดยสารได้จากการโบกเรียกหรือจอดรับผู้โดยสาร และอยู่ระหว่างการพัฒนาแอพ ติดตามรถแทน GPS ซึ่งสอดรับกับมาตรการเพิ่มรายได้ลดภาระค่าใช้จ่ายที่ ขบ. เคยกำหนดมาตรการเยียวยาให้กับกลุ่มรถแท็กซี่ โดยการขยายอายุการใช้งานรถแท็กซี่จาก 9 ปี เป็น 12 ปี
รวมทั้งเปิดโอกาสให้แท็กซี่สามารถติดตั้งสื่อโฆษณาสินค้าหรือบริการบนตัวรถ เพื่อเป็นรายได้เสริม ซึ่งการยกร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นเจตนารมณ์สำคัญของกระทรวงคมนาคม และ ขบ. พัฒนาการให้บริการที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี และความต้องการของประชาชน ภายใต้การกำกับดูแลเพื่อความปลอดภัย และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายมุ่งให้เกิดการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการให้ บริการระบบการขนส่งสาธารณะต่อไป
https://ift.tt/3woVBL4
รถยนต์
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ยันรถยนต์รับจ้างผ่านแอพ ถูกกฎหมายเป็นธรรม - เดลีนีวส์"
Post a Comment