Search

อนาคต "รถยนต์ไฟฟ้า" เมื่อสหรัฐวิ่งไล่ตาม "จีน-อียู" - ประชาชาติธุรกิจ

หลังจาก “โจ ไบเดน” เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ก็ได้ประกาศนโยบายจะเปลี่ยนรถยนต์ของรัฐบาลทั้งหมดราว 650,000 คัน มาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกา และต้องใช้ชิ้นส่วนในประเทศเกิน 50% ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งพิเศษเรื่อง “บายอเมริกา” (Buy America) ที่ไบเดนเพิ่งเซ็นรับรอง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ และสอดคล้องนโยบายพลังงานสะอาดของไบเดน

ทั้งนี้ รัฐบาลจะลงทุนถึง 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า การผลิตพลังงานสะอาด รวมทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ 5G มุ่งสนับสนุนพลังงานสะอาดโดยเฉพาะ พร้อมกับแผนการสร้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง ผ่านอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ครอบคลุมทั้งซัพพลายเชนการผลิต ไปจนถึงการสร้างและดูแลสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

“แดน เลวี่” นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์เครดิต สวิสวิเคราะห์ว่า หลังจากไบเดนขึ้นดำรงตำแหน่งจะทำให้เกิดการพลิกโฉมอุตสาหกรรมรถอีวีสหรัฐอย่างก้าวกระโดด จากที่ตามหลังสหภาพยุโรป (อียู) และจีนมานาน และนโยบายดังกล่าวทำให้ค่ายรถที่มีฐานผลิตรถอีวีในสหรัฐ ได้แก่ เทสลา, เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม), นิสสัน และ ฟอร์ด ต่างดีใจไปตาม ๆ กัน

รายงานข่าวระบุว่า “ฟอร์ด” เตรียมลงทุนโรงงานผลิตรถอีวีในสหรัฐมูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ เช่นเดียวกับ “จีเอ็ม” ที่มีแผนลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไร้คนขับกว่า 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์

และนอกจากนโยบายเปลี่ยนรถยนต์ของทางการทั้งหมดให้เป็นรถอีวีแล้ว ไบเดนยังมีนโยบายผลักดันให้ชาวอเมริกันหันมาใช้รถอีวีมากขึ้น จากที่ได้หาเสียงว่าจะให้โควตาลดหย่อนภาษีกับผู้บริโภคที่ซื้อรถอีวีหรือรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริดเพิ่มเติม จากเดิมที่มีข้อจำกัดว่าผู้บริโภคได้สิทธิขอลดหย่อนภาษีเฉพาะกรณีบริษัทมียอดขายรถอีวีไม่เกิน 200,000 คัน ซึ่งขณะนี้ทั้ง “เทสลา” และ “จีเอ็ม” มียอดขายรถอีวีเกินไปแล้ว ดังนั้นหากไบเดนยกเลิกข้อจำกัดนี้ได้ ทั้งสองบริษัทนี้จะได้รับประโยชน์เต็มที่ และจะส่งเสริมอุตฯรถอีวีสหรัฐให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

ขณะที่อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ใช้รถอีวีก็คือ “จุดชาร์จไฟฟ้า” ที่ยังมีไม่ครอบคลุมมากพอ โดยข้อมูลจากกระทรวงพลังงานรายงานว่า ปัจจุบันสหรัฐมีจุดชาร์จไฟฟ้าเพียง 29,000 จุดทั่วประเทศ เทียบกับปั๊มน้ำมัน 136,000 แห่ง ซึ่งไบเดนสัญญาว่าจะสร้างจุดชาร์จไฟฟ้าเพิ่มเป็น 500,000 จุด ภายในปี 2030

คนที่ดีใจที่สุดคงหนีไม่พ้น “อีลอน มัสก์” ซีอีโอ “เทสลา อิงก์” บริษัทยานยนต์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก มัสก์จะได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้อย่างมาก เพราะนอกจากมีกิจการรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผงโซลาร์พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เก็บพลังงาน และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

อย่างไรก็ดี รายงานข่าวอีกด้านมองว่า หากรัฐบาลสหรัฐต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อแข่งขันกับจีน รัฐบาลต้องสนับสนุนเงินทุนหรือสินเชื่อ รวมถึงการยกเว้นภาษีให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบรรดาสตาร์ตอัพ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติ เช่นเมื่อปี 2010 “เทสลา” ได้รับการสนับสนุนเงินทุน 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้โครงการ “พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขั้นสูง” ทำให้เทสลาแจ้งเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สตาร์ตอัพด้านรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติสหรัฐอย่าง “ลอดส์ทาวน์ มอเตอร์ส” และ “ฟิสเกอร์” สามารถพัฒนากิจการได้

ทว่าไบเดนยังคงต้องต่อสู้กับความเห็นของประชาชนที่ยังไม่อยากใช้รถอีวี ข้อมูลจากฟอร์บสรายงานว่า มีชาวอเมริกันเพียง 44% ที่ตอบว่าตัวเองจะใช้รถอีวีในอนาคต เทียบกับประชากรจีนสูงถึง 86% สะท้อนจากปีที่ผ่านมาสหรัฐมียอดขายรถอีวีเพียง 350,000 คัน ขณะที่ยอดขายรถอีวีในจีนมีรายงานมากกว่า 1.3 ล้านคัน และตลาดอียูที่มียอดขายรถอีวี 500,000 คัน

Let's block ads! (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( อนาคต "รถยนต์ไฟฟ้า" เมื่อสหรัฐวิ่งไล่ตาม "จีน-อียู" - ประชาชาติธุรกิจ )
https://ift.tt/3r6fFyE
ขายรถ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "อนาคต "รถยนต์ไฟฟ้า" เมื่อสหรัฐวิ่งไล่ตาม "จีน-อียู" - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.